ดิฉันชื่อ นางสาว คอรียะห์ นามสกุล โต๊ะหนิ
ชื่อเล่น ยะห์
กรุ๊ปเลือด โอ
เกิดวันที่ 01 เดือน มกราคม พ.ศ. 2537
ที่อยู่ 34 หมู่ 5 ตำบล สาวอ อำเภอ รือเสาะ จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96150
สีที่ชอบ สีชมพู สีแดง สีขาว
นิสัย
ร่าเริง
ID LINE : 0611746323
Facebook : Khoreeyah TN
|
วัฒนธรรมท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559
ประวัติส่วนตัว
ประเพณี การประกอบพิธีกรรมในวันฮารีรายอ
ช่วงเวลา ในรอบปีหนึ่ง ชาวมุสลิม
มีวันฮารีรายอ ๒ ครั้ง คือ
๑) อีดิลฟิตรี ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ
เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นเดือน ๑๐ ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวช
๒) อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือน ซุลฮิจญะ หรือตรงกับเดือน ๑๒ ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นการฉลอง วันออกฮัจญ์
๒) อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ ๑๐ เดือน ซุลฮิจญะ หรือตรงกับเดือน ๑๒ ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นการฉลอง วันออกฮัจญ์
ความสำคัญ
วันฮารีรายอ
เป็นวันรื่นเริงประจำปี ชาวมุสลิมจะไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน
เพื่ออภัยต่อกันในสิ่งที่ผ่านมา เป็นวันที่ทุกคนมีความสุขมาก
มุสลิมจะมีการประกอบพิธีกรรมไทยพร้อมเพรียงกันทั่วโลก ในวันอีดีลฟิตรี
มุสลิมทุกคนจะต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ บริจาคทานแก่คนยากจนอนาถา
ส่วนในวันอีดิลอัฏฮา จะมีการเชือดสัตว์พลี แล้วจะทำ กุรบัน
แจกจ่ายเนื้อเพื่อเป็นทานแก่ญาติมิตร สัตว์ที่ใช้ในการเชือดพลีได้แก่ อูฐ วัว แพะ
เป็นการขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้เป็นผู้บริจาค
เป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ในวันฮารีรายอชาวมุสลิม
จะเดินทางกลับภูมิสำเนาของตน มาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน
ได้พบปะ สังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้อง เพื่อจะได้ขออภัยต่อกัน
พิธีกรรม
๑. การปฏิบัติตนในตอนเช้าของวันฮารีรายอ
โดยตื่นนอนแต่เช้าตรู ผู้หญิงจะเป็นผู้ตกแต่งบ้านเรือนให้สะอาดสวยงามเป็นพิเศษ
จัดเตรียมอาหาร ขนมต่าง ๆ ไว้ต้อนรับเพื่อน ญาติพี่น้อง และแขกที่มาเยี่ยมเยียน
ทุกคนต้องปฏิบัติบริจาคซากาตฟิตเราะห์ก่อนที่จะไปละหมาดในวันอีดิลฟิตรี
สิ่งของที่ใช้ในการบริจาค โดย'ใช้สิ่งของที่บริโภคเป็นอาหารหลัก
๒. การอาบน้ำในวันฮารีรายอ
เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จ จะอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เรียกว่าอายน้ำสุนัต
กำหนดเวลาอาบตั้งแต่เที่ยงคืนเริ่มต้นวันฮารีรายอ จนถึงพระอาทิตย์ตก
แต่เวลาที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมอาบน้ำสุนัต
คือเมื่อแสงอรุณขึ้นขอบฟ้าในวันฮารีรายอ
ในขณะอาบน้ำสุนัตทุกคนจะต้องกล่าวดุอารีเป็นการขอพร
๓. การประกอบพิธีกรรม
ชาวมุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิดวันอีดิลฟิตรีจะไปมัสยิดเวลา ๘.๓๐ น.
วันอีดิลอัฏฮา จะไปมัสยิดเวลา ๗.๓๐ น. การปฏิบัติตนเมื่อเดินทางถึงมัสยิด
ทุกคนจะอาบน้ำละหมาด จากนั้นจึงเข้าไปในมัสยิด ทำการละหมาด ตะฮีญะดุลมัสยิด ๒
รอกาอัต มีการแบ่งแยกผญิงชาย โดยใช้ม่านกั้นกลาง
เสร็จแล้วจัดแถวนั่งรอฟังโต๊ะอิหม่าม ซึ่งเป็นผู้นำในการทำพิธีละหมาด
๔. การละหมาด
จะมีโต๊ะอีหม่ามเป็นผู้นำละหมาดจำนวน ๒ รอกาอัต
๑) เริ่มพิธีด้วยการยืนตรงเท้าห่างกันประมาณ
๑ คืบ หันหน้าไปทางกิบลัต (ทิศตะวันตก) สำรวมจิตใจแน่วแน่มุ่งตรงต่ออัลลอฮ
อีหม่ามจะอ่านนำว่า
"อูซอลลีซุนนาตัน อีดิลฟิตรี
(หรืออีดิลอัฏฮา) ร็อกกะตัยนี มะมูมัน ลิ้ลลาฮีตาอาลา และคิดในใจว่า
ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตอีดิลฟิตรี เพื่ออัลลอฮตาอาลา
๒) ตักบีร่อตุลเอียะฮ์รอม คือ
การยกมือทั้งสองข้าง
โดยแบฝ่ามือไปข้างหน้าให้หัวแม่มือจรดเหนืออยู่ระดับติ่งหูทั้งสองข้าง
แล้วกล่าวคำว่า "อัลลอฮูอักบัร" ในขณะที่กล่าวคำ อัลลอฮูอักบัร
ให้ตั้งเจตนาหรือนึกในใจ (เนียต) เนียตว่า "ข้าพเจ้าละหมาดสุนัตอีดิลฟิตรี
(อีดิลอัฏฮา) ๒ รอกาอัตในเวลาเพื่ออัลลอฮตาอาลา แล้วลดมือทั้งสอง
ลงมากอดอกให้มือขวาทับมือซ้าย แล้วกล่าว "ซุบฮานัลลอ วันฮัมดูลิลลา วาลาอีลา
ฮาอินลัลลอ ฮูวัลลอฮูอักบัร ๖ ครั้ง ในรอกาอัตแรกแล้วกล่าว
"อัลลอฮูอักบัร" ๗ ครั้ง จากนั้นใหฟังอีหม่าม (ผู้นำ)
อ่านฟาตีฮะและซูเราะฮ
๓) เมื่ออีหม่าม (ผู้นำ)
อ่านซูเราะฮเสร็จแล้วให้กล่าว "อัลลอฮูอักบัร"
พร้อมกับยกมือทั้งสองเหมือนกับการตักบีรอตุลเอียะรอมในข้อ ๒ แล้วเอามือลง
ก้มศีรษะโดยโน้มตัวลงเอาฝ่ามือจับเข่าให้ศีรษะและหลังอยู่ในระดับเดียวกันเรียกว่า
"รอเกาะฮ" หรือ รูกัวะ หยุดนิ่งพร้อมกับอ่านตัสเบียะ คือซุบฮาน่า
ร็อบบียัลอ้าซีม ว่าบีฮัมดี้ฮี
๔)
เมื่ออ่านตัสเบียะฮจบแล้วให้เงยขึ้นมายืนตรง ขณะที่กำลังเงยให้อ่าน
"ซ่ามีอัลลอฮู ลีมันฮามีดะฮ์"
พร้อมกับยกมือทั้งสองขึ้นเสมอไหล่
เหมือนกับการตักบีรครั้งแรก แล้วจึงลดมือลงแนบกับข้างตัวเรียกว่า
"เอียะติดาล" ขณะที่ยืนตรงอยู่นี้ให้อ่าน "ร็อบบ๊านา
ล่ากัลฮัมดิ์"
๕) กล่าว "อัลลอฮูอักบัร"
พร้อมกับลดตัวลงคุกเข่ากับพื้น เอาฝ่ามือยันลงที่พื้น
ให้ปลายนิ้วมือชี้ตรงไปข้างหน้า แล้วก้มลงให้หน้าผากแนบลงกับพื้น
และจมูกแตะพื้นเรียกว่า "สูญูด" ให้หยุดนิ่งพร้อมกับอ่าน
"ซุบฮานาร็อบบี้ยัลฮะลา ว่าบีฮัมดี้ฮี"
๖) กล่าว "อัลลอฮูอักบัร"
พร้อมกับเงยศีรษะจากการสูญูดขึ้นมานั่งเรียกว่า นั้งระหว่าง ๒ สูญด
ในการนั่งให้เอาตาตุ่มเท้าซ้ายรองกัน ให้ท้องนิ้วของเท้าขวายันพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒
วางบนเข่าแล้วจึงอ่าน "ร็อบบิวฆ์ฟิรลี วัรฮัมนี วัรซุกนี วะฮ์ดี้นี ว่าอาฟีนี
วะฟุ่อันนี"
๗) เมื่ออ่านจบแล้วกล่าว
"อัลลอฮูอักบัร" พร้อมกับก้มลงสูญูดอีกครั้ง เรียกว่า สูญูดครั้งที่ ๒
อ่าน "ซูบฮาน่าร็อบบียัลอะฮ์ลา ว่าบีฮัมดี้ฮี้" ๓ ครั้ง
เหมือนการสูญูดครั้งแรก
๘) เมื่ออ่านจบแล้วจึงเงยจากสูญูดครั้งที่
๒ พร้อมกล่าว "อัลลอฮูอักบัร" มายืนตรงเอามือกอดอกดังเดิมรอกาอัตที่ ๒
ให้อ่านเหมือนรอกาอัตที่ ๑ แต่อ่าน "ซุบฮานันลอ วัลฮัมดุลิลลา
วาลาอีลาฮาอิลลัลลอ ๔ ครั้ง แล้วอ่าน อัลลอฮูอักบัร ๕ ครั้ง
จากนั้นให้ปฏิบัติเหมือนรอกาอัตที่ ๑ จนเสร็จสิ้นการละหมาด
๕. การปฏิบัติตนเมื่อละหมาดเสร็จ
หลังจากละหมาดเสร็จแล้ว มุสลิมทุกคนจะนั่งฟังอีหม่ามกล่าวคุฏบะ (คำอบรม)
เพื่อแนะแนวทางชีวิตด้านความศรัทธาที่กระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติแต่ความดีละเว้นความชั่ว
และปฏิบัติตามแนวทางของอิสลาม เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ขณะนั่งฟังนั้นทุกคนจะอยู่ในความสำรวม
สงบนิ่ง ตั้งใจฟัง ไม่พูดจาใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่ออีหม่ามอ่านคุฏบะฮจบแล้ว
อีหม่ามจะขอพรจากพระองค์อัลลอฮเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
และบรรดามุสลิมที่มาร่วมประกอบพิธีกรรม
จะมีการขออภัยต่อกันโดยผู้น้อยจะเข้าไปขออภัยผู้อาวุโสกว่า
สาระ
บรรยายกาศอบอุ่นในวันฮารีรายอ
ชาวมุสลิมจะรู้สึกดีใจและมีความสุขที่สุด ประทับใจในวันนี้ บรรดาลูก
จะขออภัยต่อพ่อแม่ มีการแสดงออกด้วยการสวมกอด การจูบมือ
การหอมแก้มทั้งสองของพ่อแม่ เป็นการแสดงความรัก
ลูกหลานที่อยู่ต่างภูมิลำเนาต่างกลับบ้าน เมื่อมาขออภัยและอำนวยพรให้พ่อแม่
ทุกครัวเรือนจะมีความอบอุ่นไปด้วยบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ กลับบ้านโดยพร้อมเพรียงกัน
การละเล่นว่าวไทย
ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความบันเทิงที่นิยมเล่นกันเกือบทุกชาติเป็นเวลานานมาแล้ว
แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้คิด
บางทีว่าวยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นๆ ได้อีก
การเล่นว่าวยังนิยมเล่นกันจนถึงปัจจุบันนี้ การละเล่นของไทยเพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งของเด็กและผู้ใหญ่
ที่นิยมกันมากในทุกภาคของประเทศไทยก็คือการเล่นว่าว
ซึ่งปรากฏตามหลักฐานว่ามีมาเเต่ กรุงสุโขทัย
เป็นว่าวที่ส่งเสียงดังด้วยในเวลาที่ลอยอยู่ในอากาศ เรียกว่า ว่าวหง่าว
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏตามหลักฐานของชาวต่างประเทศว่า “ว่าวของสมเด็จ
พระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาระยะ 2 เดือน “ในฤดูหนาว” และยังกล่าวว่า “ว่าวเป็นกีฬาที่เล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยาม”
ที่ลพบุรีเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่
ข่าวนี้ติดโคมส่องสว่างและลูกกระพรวนส่งเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง ในสมัยพระเพทราชา
เคยใช้ว่าวในการสงคราม
โดยผูกหม้อดินบรรจุดินดำเข้ากับสายป่านว่าวจุฬาข้ามกำแพงเมือง
แล้วจุดชนวนให้ระเบิดไหม้เมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ
ว่าวจุฬา มีลักษณะเป็น ๕ แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ ๕ อัน นักเลงว่าวจะเสาะหาไม้ไผ่สีสุกที่มีปล้องยาวเรียว เรียกว่า "เพชรไม้" มาเหลา อันกลางเรียกว่า "อก" เหลาปลายเรียวหัวท้าย ๑ อัน อีก ๒ อันผูกขนาบตัวปลายให้จรดกันเป็นปีกและอีก ๒ อัน เป็นขาว่าวเรียกว่า "ขากบ" จากนั้นขึงด้ายเป็นตารางตลอดตัวว่าว เรียกว่า "ผูกสัก" แล้วใช้กระดาษสาปิดทับลงบนโครง สำเร็จเป็นว่าวจุฬา ถ้าหากไม่ถูกสัดส่วนแล้ว ว่าวจะไม่อาจลอยตัวขึ้นได้เลย
ว่าวปักเป้า มีลักษณะเช่นเดียวกับว่าวอีลุ้ม แต่ทว่าไม้โครงส่วนที่เป็นปีกจะแข็งกว่าปีกของอีลุ้มมาก จึงต้องมีหางซึ่งทำด้วยผ้าเป็นเส้นยาวถ่วงอยู่ที่ส่วนก้น เมื่อชักขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศแล้วจะไม่ลอยอยู่เฉยๆ จะส่ายตัวไปมาน่าดูมากและเมื่อถูกคนชักกระตุกสายเชือกป่านตามวิธีการแล้ว มันจะเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวไปในท่าทางต่างๆ ตามต้องการ
ว่าวตุ๋ยตุ่ย มีรูปร่างแบบเดียวกับว่าวจุฬา แต่ขากบเป็นรูปเดียวกับปีกติดอยู่ซ้อนกัน ส่วนบนใหญ่และส่วนล่างเล็ก สุดตัวตอนล่างมีไม้ขวางอีกอันหนึ่ง สำหรับผูกหาง ซึ่งมีสองหางช่วยในการทรงตัวเมื่อขึ้นไปลอยอยู่ในอากาศ ส่วนบนของหัว ไม้อันที่เป็นอกยื่นออกมาในราวหนึ่งคืบ เป็นเดือยในลักษณะสี่เหลี่ยม เพื่อเสียบที่ทำเสียง ซึ่งเป็นคันเหมือนคันกระสุนหรือธนู ทำด้วยไม้ไผ่ เจาะรูให้เป็นสี่เหลี่ยมกึ่งกลางคันให้พอดีกับเดือยสี่เหลี่ยมที่ยื่นออกมา ตัวการที่ทำให้เกิดเสียงนั้น ใช้ไม้ไผ่หรือหวายเส้นโตๆ เหลาให้เป็น
แผ่นบางๆ แล้วเอาปลายเชือกสองข้างผูกติดกับปลายคัน เมื่อติดเครื่องทำเสียงนี้แล้ว ก็จัดการให้ว่าวขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศ ไม้ไผ่หรือหวายแผ่นบางๆ ที่ถูกขึงตึงอยู่นั้น เมื่อสายลมมาปะทะ ก็จะพลิ้วตัว ทำให้เกิดเสียงดังตุ๋ยตุ่ยอยู่ตลอดเวล ว่าวนี้ทำเล่นกันตามชนบท โดยมากพระเป็นผู้ทำนิยมชักขึ้นในเวลากลางคืน
ว่าวอีลุ้ม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีไม้ไผ่เป็นโครงสองอันคือ อกและปีก อกจะสั้นกว่าปีกเล็กน้อยกระดาษที่ใช้ปิดทาบลงบนโครงนี้ คือ กระดาษว่าว ซึ่งบางเป็นพิเศษ ส่วนปลายของปีกทั้งสองข้างจะติดพู่กระดาษเพื่อช่วยในการทรงตัวในขณะที่ว่าวลอยอยู่ในอากาศ
ว่าววงเดือน หรือเรียกว่า ว่าวควาย ว่าวเดือน หรือวาบูแล เป็นว่าวที่มีรูปดวงเดือนเป็นส่วนประกอบอยู่ตรงกลางลำตัว ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปีก เขา (คล้ายเขาควาย) และดวงเดือนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปีกและเขาและตอนกลางของลำตัว ว่าววงเดือนโดยทั่วไปนิยมตัดกระดาษสีมาทำเป็นลวดลายต่างๆ ปิดทั้งตัวว่าวเพื่อให้ดูสวยงามและแข็งแรงมั่นคง
โอกาสที่จะเล่นว่าว
จากหลักฐานข้างต้นจะเห็นได้ว่าว่าวเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงของคนไทยทุกชั้น
นับตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ถึงคนสามัญ แล้วยังใช้ประโยชน์อื่นได้อีก
และเล่นกันในหน้าหนาวตอนกลางคืน ปัจจุบันนิยมเล่นกันทั้งในหน้าหนาวและหน้าร้อน
การเล่นว่าวแน่นอนจะเล่นว่าวได้สนุก กระแสลมนี้มี 2 ระยะ คือ
ฤดูหนาวหรือหน้าหนาว ลมจะพัดจากผืนแผ่นดินลงสู่ทะเล คือ พัดจาก
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังปรากฏในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาว่าเล่นว่าวใน หน้าหนาว
ปัจจุบันนี้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ยังนิยมเล่นว่าวใน หน้าหนาว
ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
ฤดูร้อนหรือหน้าร้อน จะมีลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลพัดสู่ผืนแผ่นดินใหญ่
หรือเรียกกันว่าลมตะเภา ชาวไทยภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้
นิยมเล่นว่าวในระยะนี้คือ ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน
และมักจะเรียกกระแสลมที่พัดมาทาง ทิศนี้ว่า ”ลมว่าว”
วิธีเล่นว่าวของไทย คนไทยในภาคต่างๆ
ทุกภาคนิยมเล่นว่าวมาก วิธีเล่นมีอยู่ 3 วิธี คือ
1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่
เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่างๆ
2.บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการนิยมกันที่ความงาม
ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
ในการเล่นว่าวทั้งสองวิธีนี้
ไทยเราได้ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ ตามความนิยมในท้องถิ่นมานานแล้ว
แต่ในปัจจุบันนี้มีรูปแบบใหม่มาจากต่างประเทศปะปนด้วย ว่าวแบบดั้งเดิมของภาคต่างๆ
บางอย่างยังปรากฏอยู่ บางอย่างก็หาดูไม่ได้แล้ว
ว่าวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยและมีทุกภาคคือว่าวจุฬา
ส่วนว่าวปักเป้านั้นแม้จะเล่นกันใน ภาคกลาง แต่ก็เป็นที่รู้จักกันมาก
3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ
การเล่นว่าวแบบนี้แตกต่างจากชาติอื่น ทั้งตัวว่าวและวิธีที่จะต่อสู้คว้ากัน
การแข่งขันว่าวจุฬากับปักเป้านั้น
ว่าวปักเป้ามีขนาดเล็กกว่าว่าวจุฬาประมาณครึ่งหนึ่ง
การแข่งขันแบบนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีการแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าในภาคกลางของประเทศไทยมาจนปัจจุบันนี้
การแข่งขันว่าว
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้เล่นเป็นอย่างมาก ทั้งผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าว
ต้องใช้ความประณีต ควมแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความ
พร้อมเพรียงด้วย พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงสนับสนุนว่าวไทยตลอดมา
ในปัจจุบันนี้มีการแข่งขันว่าวกัน 2 ประเภท ประเภทแรก คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า
คว้ากันบนอากาศ อีกประเภทหนึ่งเป็นประเภทการละเล่น การแข่งขัน เป็นการประกวดฝีมือในการประดิษฐ์
ซึ่งจะแยกเป็นด้านความสวยงาม ความคิด ความตลกขบขัน
และความสามารถในการชักให้ว่าวแสดงความสามารถ สมรูปทรง และให้สูงเด่นมองเห็นได้ชัด
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559
วัฒนธรรมไทย อาหารภาคกลาง
ภาคกลาง นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ
ถือได้ว่าภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย
จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้าน เกษตรกรรม
หรือปศุสัตว์
นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลาง
มีสัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่หลากหลาย
อาหารภาคกลาง
เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อ
ชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม
และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ
และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน
มีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง
คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ
มีกับข้าวหลายอย่าง
รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น
อาหารภาคกลางมีการผสมผสานของหลาหลายรสชาติทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว
รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก
ผลไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น
การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายใช้ชนิด
ของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว
แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม
ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และความเผ็ด
ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีครบทุกรส
ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาค
กลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้น
วิธีการปรุงอาหารภาคกลางมีความหลากหลาย ซับซ้อน
มีกรรมวิธีในการปรุงที่หลายแบบ ได้แก่ แกง ต้ม ผัด ทอด ยำ เครื่องจิ้ม เช่น
น้ำพริก หลน เป็นต้น อาหารในสำรับมักประกอบด้วยอาหาร 4 ประเภทด้วยกัน คือ แกงเผ็ด แกงจืด ผัดหรือทอด
และน้ำพริก รสชาติของอาหารไทยมักจะออกรสเผ็ด ดังนั้นจึงต้องมีอาหารรสเค็ม
หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ แนม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด ดังนั้นคำว่า “ เครื่องเคียง หรือ เครื่องแนม ” หมาย ถึง
อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จัดเพิ่มขึ้นให้กับอาหารหลักในสำรับ
เพื่อช่วยเสริมรสชาติอาหารในสำรับนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อร่อยมากขึ้น
นอกจากความอร่อยที่ได้จากเครื่องเคียงเครื่องแนมแล้ว
เราจะเห็นศิลปะความงดงามในการจัดวางและการประดิษฐ์อาหารในสำรับนั้นๆ
อาหารหลักแต่ละอย่างมีเครื่องแนมที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ประเภทหลนและน้ำพริกหลนต่างๆ
มักกินกับผักดิบ นิยมใช้ปลาย่าง ปลาฟู ปลาทอด
เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกกะปิ กินกับผักต้มกะทิ
นิยมใช้ปลาฟู กุ้งเค็ม เป็นเครื่องแนม กินกับผักดอง นิยมใช้ประหลาดุกย่าง ปลาฟู หมูหวาน กุ้งเค็ม
เป็น เครื่องแนม กินกับผักผัดน้ำมัน นิยมใช้ปลาทูนึ่ง ปลาย่าง กุ้งเค็ม ไข่เจียว
เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกลงเรือ
น้ำพริกลงเรือ นิยมใช้หมูหวาน ไข่เค็ม
ปลาช่อนย่างหรือปลาดุกย่าง เป็นเครื่องแนม
แสร้งว่า นิยมใช้ปลาทอด เป็นเครื่องแนม
แสร้งว่า นิยมใช้ปลาทอด เป็นเครื่องแนม
แกงเผ็ด นิยมใช้ของเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ
เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาแห้ง เนื้อเค็ม ปลา เค็ม แตงโม
แกงส้ม นิยมใช้ของเค็มๆ มันๆ เป็นเครื่องแนม เช่น
ไข่เจียว ปลาเค็ม ไข่เค็ม หมูแดดเดียว
แกงขี้เหล็ก
แกงขี้เหล็ก นิยมใช้หัวผักกาดยำเค็ม เป็นเครื่องแนม
แกงคั่ว นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ผัดหัว ผักกาดเค็ม
แกงมัสมั่น นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถัวลิสงทอดเคล้าเกลือ เป็นเครื่องแนม
ประเภทอาหารจานเดียว
แกงคั่ว นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ผัดหัว ผักกาดเค็ม
แกงมัสมั่น นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถัวลิสงทอดเคล้าเกลือ เป็นเครื่องแนม
ประเภทอาหารจานเดียว
ข้าวคลุกกะปิ นิยมใช้หมูหวาน กุ้งแห้งทอดกรอบ ใบชะพลูหั่นฝอย
หอมแดง เป็นเครื่องแนม
ข้าวมันส้มตำ นิยมใช้เนื้อเค็มฝอยทอดกรอบ ไข่เค็ม ผักสด
เป็นเครื่องแนม
ข้าวผัด นิยมใช้แตงกวา ต้นหอม มะนาว พริกขี้หนู
เป็นเครื่องแนม และมักจะมีแกงจืดเป็น เครื่องแนม
ยำไข่จะละเม็ด นิยมใช้มังคุด เป็นเครื่องแนม ยำปลาทูนึ่ง นิยมใช้ผักกาดหอม ใบชะพลู เป็นเครื่องแนม
วัฒนธรรม การกินอาหารของคนไทยภาคกลาง
แต่เดิมนั้นนิยมนั่งรับประทานอาหารกับพื้น สำรับอาหารวางอยู่บนพื้นที่ปูด้วยเสื่อ
พรม หรือโต๊ะเตี้ยตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว มักรับประทานข้าวด้วยการเปิบมือ
มีช้อนกลางสำรับตักแกงหรืออาหารที่เป็นน้ำ
ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชาติตะวันตกเข้ามา
จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย
มาเป็นการวางอาหารตั้งบนโต๊ะ นั่งเก้าอี้รับประทานอาหาร
ใช้ช้อนและส้อมเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานที่สำคัญ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)